วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ลูกทุ่งยุคกลางและปัจจุบัน

ศิลปินแกรมมี่ โกลด์ ขอสดุดี ราชินีลูกทุ่ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์”

ถ้าหากจะพูดถึงราชินีลูกทุ่งที่ยังอยู่ในใจของคนไทย ก็คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก เขาคนนี้ ราชินีลูกทุ่ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ผู้ซึ่งเป็นแม่แบบให้กับนักร้องรุ่นหลัง ๆ หลายต่อหลายคน “แม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์” เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงที่มีความสามารถ ขนาดตัวเองไม่รู้หนังสือแต่จำเนื้อร้องได้แม่นยำและสามารถถ่ายทอดบทเพลงผ่าน น้ำเสียงที่ออดอ้อนและหวานซึ้งได้ถึงอารมณ์เพลง และด้วยความสามารถนี้เอง ที่ทำให้บทเพลงของแม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ยังไม่เลือนหายไปจากใจของคนไทย อีกทั้งเพลงของ แม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ยังเปรียบเสมือนเครื่องเตือนความจำของใครหลายคน มาถึงยุคสมัยนี้ เพลงของ “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ก็ยังมีให้ฟังกันอยู่ตลอด เด็ก ๆ 4 – 5 ขวบ บางคนก็ยังร้องได้ เพลงที่แม่ผึ้ง ถ่ายทอดออกมาบางเพลงก็ถูกใช้ในการประกวดร้องเพลงตามเวทีต่าง ๆ มากมาย และด้วยความดังของบทเพลงและความชื่นชอบในตัวแม่ผึ้ง ทำให้ศิลปินในยุคปัจจุบันได้นำบทเพลงเหล่านั้นกลับมาทำใหม่ หลายคนทำแล้วก็โด่งดัง ยกตัวอย่าง “ต่าย อรทัย” ก็เคยได้นำเพลง “แก้วรอพี่” ที่แม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ เคยถ่ายทอดเอาไว้ กลับมาร้องใหม่ในอัลบั้มพิเศษ ภาษารักจากดอกหญ้า นอกจากนักร้องหญิงแล้ว นักร้องชายบางคนก็ยังนำบทเพลงของแม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ มาร้องเช่นกัน อาทิ พี สะเดิด ที่เปิดอัลบั้มแรกกับแกรมมี่ โกลด์ ด้วยเพลง “นักร้องบ้านนอก” ด้วยตัวบทเพลงที่มีมนต์ขลังทำให้นักร้องรุ่นหลังโด่งดังขึ้นมาด้วยเช่นกัน นี่ก็เป็นเวลา 18 ปีแล้ว ที่แม่ผึ้ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็น “ราชินีลูกทุ่ง” ได้จากเราไป แต่ยังคงเหลือความทรงจำที่ดี และบทเพลงเพราะๆ ไว้ให้กับคนรุ่นหลัง ด้วยน้ำเสียงที่หวานกินใจและการถ่ายทอดอารมณ์ลงไปในบทเพลง นี่แหล่ะ…คือสิ่งที่นักร้องรุ่นหลัง ๆ ควรจำ และทำให้ได้… “โลกของผึ้งยังตราตรึงในดวงจิต สิบแปดปีก็ยังคิดถึงไม่หาย ถึงแม้ว่า “พุ่มพวง”จาก โลกนี้ไป บทเพลงยังอยู่ในใจของพวกเรา”
สาวดอกหญ้า “ต่าย อรทัย” เจ้าของเพลง “ไม่ร้องไห้ไม่ใช่ไม่เจ็บ” “แม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ก็เปรียบเสมือนคุณครูอีกคนที่สอนให้ต่ายร้องเพลง ตอนสมัยเด็ก ๆ ต่ายก็ได้ฟังเพลงของแม่ผึ้งมาบ้าง บางครั้งก็ยังเคยใช้เพลงของแม่ผึ้งในการประกวดร้องเพลง ตอนที่ต่ายต้องจากบ้านมาทำงานในกรุงเทพฯ เวลาที่ต่ายนึกถึงยาย ต่ายก็จะฟังของแม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์”
นักร้องสาวแก้มป่อง “ตั๊กแตน ชลดา” เจ้าของเพลงฮิต “อยากเป็นแฟนเธอแทนเขา” “แม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นศิลปินในดวงใจของตั๊กแตนเลยค่ะ เวลาแตนไปประกวดร้องเพลงตามเวทีต่าง ๆ ก่อนจะมาเป็นศิลปิน แตนก็ใช้เพลงของแม่ผึ้งประกวดด้วยค่ะ แม่ผึ้งเป็นคนที่ร้องเพลงได้เพราะและกินใจ การร้องก็ชัดถ้อยชัดคำ นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ตั๊กแตนเอง นำมาปรับใช้กับการร้องของตั๊กแตน ถึงตัวแม่ผึ้งจะไปโลกนี้ไป แต่ในใจตั๊กแตนก็ยังคงมีแม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์เสมอค่ะ”
ลูกทุ่งสาวโมเดิร์น “เอิร์น เดอะสตาร์” เจ้าของอัลบั้ม “คนที่เธอคิดถึง” “สำหรับแม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ถือได้ว่าเป็นศิลปินต้นแบบให้กับนักร้องหลายคน รวมถึง เอิร์น ด้วยค่ะ เมื่อก่อนตอนที่เอิร์นประกวดร้องเพลง เอิร์น ก็ยังได้ใช้เพลงของแม่ผึ้งในการประกวดด้วย เพลงของแม่ผึ้ง พุ่มพวง ฟังกี่ทีๆ ก็ยังเพราะเหมือนเดิม เอิร์นอยากจะให้น้อง ๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่หันมาฟังเพลงลูกทุ่งกันเยอะ ๆ นะคะ เอิร์นเชื่อว่าเพลงลูกทุ่งมีสิ่งดี ๆ ให้ค้นหาค่ะ”
นักร้องสาวเสียงโศก “รัชนก ศรีโลพันธุ์” เจ้าของเพลงฮิต “ฝนตกในทะเล” “เพลงลูกทุ่งก็เปรียบเสมือนกับวัฒนธรรมประจำชาติไทย แต่ถ้าจะพูดถึง ราชินีเพลงลูกทุ่ง ก็คงจะนึกถึง แม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ผู้ที่มีความสามารถในการร้องเพลงได้เพราะและกินใจ ตัวรัชนกเอง ก็ชื่นชอบผลงานเพลงของแม่ผึ้งพุ่มพวง ดวงจันทร์ พอได้มาร้องเองในอัลบั้ม ดวงจันทร์…กลางดวงใจ ก็ยิ่งรู้สึกดีมาก ๆ เพลงของแม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ เปรียบเสมือนบทเพลงที่คอยรักษาวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งนี้ไว้ให้คงอยู่คู่กับคน ไทย เพราะเด็ก ๆ สมัยนี้หลายคนจะรู้จักเพลงลูกทุ่ง จากเสียงร้องของแม่ผึ้งพุ่มพวง ดวงจันทร์”
นักร้องและนางเอกหน้าใหม่ “เปาวลี พรพิมล” ผู้ที่รับบทเป็น พุ่มพวง ดวงจันทร์ ในภาพยนตร์เรื่อง “พุ่มพวง” “แม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นแม่แบบให้กับหนู อีกทั้งยังคอยเป็นแรงบันดาลใจให้สู้ในทุกเวที หนูชื่นชอบบทเพลงของแม่ผึ้งมาตั้งแต่เด็ก คุณแม่จะร้องให้ฟังอยู่บ่อยๆ จนทำให้ซึมซับในบทเพลงของแม่ผึ้ง และทุกครั้งที่หนูประกวดร้องเพลงตามเวทีต่างๆ ก็จะใช้เพลงของแม่ผึ้งในการประกวดทุกครั้ง แม่ผึ้ง เป็นราชินีลูกทุ่ง ที่ไม่มีใครสามารถเทียบได้ และจะเป็นแบบนี้ตลอดไปค่ะ
ศิลปินร็อกอารมณ์ดี “พี สะเดิด” เจ้าของเพลงรักโรแมนติก “รักจัง” “ถ้าจะให้พูดถึง แม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ นี่ก็คือนักร้องหญิงในดวงใจของผมอีกคน แม่ผึ้ง เป็นคนที่มีความสามารถมาก ๆ ทั้งในเรื่องความจำ และการร้องเพลง เพลงของแม่ผึ้งที่ถูกถ่ายทอดออกมาแต่ละบทเพลงนั้น ออกมาจากจิตวิญญาณของการเป็นนักร้องจริงๆ แม่ผึ้งสามารถถ่ายทอดบทเพลงออกมาแล้วให้คนฟังรู้สึกอินไปกับบทเพลงนั้น ๆ ผมก็อยากจะให้น้อง ๆ ที่ฝันจะเป็นนักร้อง ลองนำทักษะดี ๆ ที่แม่ผึ้งได้ทำไว้ให้เห็นนำไปปฏิบัติและช่วยกันอนุรักษ์เพลงลูกทุ่งนี้ให้ อยู่คู่คนไทยตลอดไป”







ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ทีวีบูรพา รายการคนค้นฅน

             ในบรรดาผู้ที่ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งอายุราว 50 ปีขึ้นไป คงไม่มีใครไม่รู้จักผู้ชายคนนี้ "แมน ซิตี้ไลอ้อน" หรือ "ชาย เมืองสิงห์" นักร้องลูกทุ่งผู้เคยโด่งดัง และมีเพลงฮิตมากมายในอดีต เช่น "เมียพี่มีชู้", "ทำบุญร่วมชาติ" ฯลฯ กับลีลาและน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ จนได้รับขนานนามว่าเป็นตำนานคนหนึ่งของวงการลูกทุ่งไทย และได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นักร้อง-นักแต่งเพลงลูกทุ่ง เมื่อปี พ.ศ.2538

              แต่เรื่องราวของ "ชาย เมืองสิงห์" ไม่ได้น่าสนใจเพียงแค่ในฐานะที่เขาเป็นนักร้องชื่อดังเท่านั้น ยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวที่แสดงให้เห็นว่า นักร้องลูกทุ่งคนนี้เป็น "ลูกทุ่งหัวใจสิงห์" อย่างแท้จริง อย่างที่ "รายการคนค้นฅน" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี นำเสนอชีวิตของเขาผู้นี้ได้อย่างน่าสนใจ

             "ชาย เมืองสิงห์" หรือชื่อจริง "สมเศียร พานทอง" เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรีตั้งแต่กำเนิด และชื่นชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก ๆ จนได้มีโอกาสร้องเพลง และกลายเป็นนักร้องนักแต่งเพลงผู้โด่งดังในยุคหนึ่ง ปัจจุบัน "ชาย เมืองสิงห์" ในวัย 72 ปี ล้มป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ต้องนั่งรถเข็น ประคองตัวเองด้วยไม้เท้า และพักรักษาตัวมานานกว่า 3 ปีแล้ว จน ออกไปปรากฏตัวตามที่สาธารณะบ่อย ๆ เหมือนแต่ก่อนไม่ได้ แม้แต่การร้องเพลงที่เขารักก็ยังได้รับผลกระทบจากอาการเจ็บป่วยของเขาด้วย เพราะเขาจะใช้พลังเอื้อนมากเท่าในอดีตไม่ได้





             แต่อย่างไรเสีย ในเมื่อใจรักการร้องเพลงแล้ว "ชาย เมืองสิงห์" จึงยังคงรับงานร้องเพลงตามงานอยู่บ้าง โดยรับเฉพาะงานที่เดินทางใกล้ ๆ เท่านั้น เพราะหากไกลเกินไปก็จะเดินทางไม่ไหว และไม่สะดวกที่จะค้างคืน เพราะต้องขนคนไปดูแลอีก ซึ่ง "ชาย เมืองสิงห์" ก็บอกว่า ตลอด 3 ปีที่ป่วย เขารู้สึกชินแล้วกับการร้องเพลงบนรถเข็น บางครั้งที่ลุกขึ้นยืนก็มีคนคอยช่วยประคองอยู่ด้านหลัง แต่ถึงกระนั้นตำนานลูกทุ่งคนนี้ ก็ยังรู้สึกอึดอัด เพราะเวลาขึ้นเวทีทีไรก็ร้องได้อย่างเดียว เต้นไม่ได้ รำไม่ได้ ออกลีลามากก็ไม่ได้ แต่ก็ยังดีที่มีงานเข้ามาบ้าง

             ทั้งนี้ "ชาย เมืองสิงห์" จะรับผิดชอบกับทุกงานที่รับ โดยจะมาก่อนงานทุกครั้ง อย่างเช่นงานร้องเพลงที่ต้องขึ้นเวที 2 ทุ่ม แต่ตัวศิลปินแห่งชาติคนนี้จะมาซ้อมตั้งแต่บ่ายสองโมง แม้ศิลปินคนอื่น ๆ จะยังไม่มา และไม่เคยเบี้ยวงาน แต่ถ้าไม่สบายจริง ๆ นักร้องอาวุโสก็จะออกตัวกับแฟนเพลงก่อนเลยว่า วันนี้ไม่สบาย แต่จะไม่อยากให้เปิดแผ่นลิปซิงเอาเปรียบคนฟัง เพราะปากกับลูกเอื้อนมันจะไม่ตรงกัน

             หลายคนบอกว่า เมื่อเทียบกันระหว่างตอนที่ "ชาย เมืองสิงห์" ยังไม่ป่วยกับตอนนี้ พลังความเต็มที่ของเขาไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลย เพราะทุกครั้ง "ชาย เมืองสิงห์" ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ตัวเขามีจิตใจเกินร้อย และทุกคนก็เห็นได้ชัดเจนว่า นักร้องวัย 72 ปีคนนี้ มีความสุขทุกครั้งยามที่ได้ร้องเพลง และได้ขึ้นเวที ความเจ็บป่วยและวัยชราไม่สามารถบั่นทอนความสุขของ "ชาย เมืองสิงห์" ไปได้ ที่สำคัญจนถึงวันนี้ ยังมีแฟนเพลงเข้ามาทักทาย และขอถ่ายรูปคู่ด้วยเสมอ แม้จะดูบางตาไปบ้างจากสมัยอดีต

             แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ "ชาย เมืองสิงห์" ครองใจแฟนเพลงมานานกว่าครึ่งศตวรรษ? นักร้องลูกทุ่งชื่อดังอย่างพี่เป้า สายัณห์ สัญญา แสดงความเห็นไว้ว่า เป็น เพราะอาชาย เมืองสิงห์ มีความสามารถรอบตัว เป็นทั้งนักร้อง นักประพันธ์ และความดังของเขาในสมัยก่อนถือว่าดังแบบสุด ๆ ไม่มีใครเทียบ เด็กที่ไหนก็ต้องฟังเพลงของเขา ดังไม่แพ้ครูสุรพล

             ขณะที่ "สัญญา พรนารายณ์" นักร้องลูกทุ่งอีกคน ก็บอกว่า ชาย เมืองสิงห์ เป็นคนที่จริงจังกับการทำงานมาก ตั้งใจซ้อมทุกงานที่รับมา ไม่ปล่อยปละละเลยเวลา เช่นเดียวกับ "สดใส รุ่งโพธิ์ทอง" นักร้องรุ่นน้องของ "ชาย เมืองสิงห์" ที่บอกว่า พี่ชาย เมืองสิงห์ เป็นคนที่ร้องเพลงชัด และที่สำคัญคือมีลูกเอื้อนที่แปลก ในวงการลูกทุ่งเรียกว่า มีแก๊ก เรียกว่าเป็นคนมีอารมณ์เพลงลูกทุ่งที่ดี ทำให้ศิลปินคนนี้ยังครองใจแฟนเพลงมาหลายทศวรรษ





             อย่างไรก็ตาม "ชาย เมืองสิงห์" ก็ยอมรับว่า เพราะสังขารและอาการป่วยทำให้เขาแสดงได้ไม่เต็มร้อยเท่าไหร่ ส่วนเรื่องคนดูน้อย ก็ไม่เคยเครียดเลย กลับกันยิ่งเห็นว่ามีคนดูน้อย ก็ยิ่งต้องเล่นมากขึ้น เพราะแสดงว่าเขาตั้งใจมาดู "ชาย เมืองสิงห์" แม้จะเล่นกลางสายฝนที่เปียกปอน แต่เขาก็ยอมตากฝน ร้องเพลงให้แฟนเพลงที่ตั้งใจมาชมเขาได้รับความสุขกลับบ้านไป โดยอาชาย เมืองสิงห์ คิดไว้เสมอว่า "ในเมื่อเขาไม่หนี เราก็ไม่หนี"

             นอกจากนั้นแล้ว เพื่อร่างกายที่จะกลับมาใช้ชีวิตดังเดิมได้ "ชาย เมืองสิงห์" ยังต้องไปทำกายภาพบำบัดที่คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลเสมอ ๆ เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อตาย ซึ่งหลังจากที่ทำกายภาพบ่อย ๆ ก็ทำให้แขนซ้ายกลับมามีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาก จากเดิมที่ยกแขนไม่ขึ้นเลย และเมื่อถามเจ้าตัวว่า คาดหวังอะไรบ้างกับการเข้ามาทำกายภาพบำบัด ศิลปินลูกทุ่ง ก็บอกว่า จริง ๆ ไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก แต่เป้าหมายสูงสุดก็คืออยากกลับไปยืนร้องเพลงให้ได้ดังเดิม

             "เอาแค่ขอให้ร่างกายกลับไปเหมือนเดิมได้สัก 75% ก็พอแล้ว ร้องเพลงได้สักครึ่งชั่วโมงก็พอแล้ว ไม่เอาถึงร้อยหรอก แต่ใจนี่เกินร้อยนะ แต่ร่างกายนี่ได้เท่าอายุก็พอแล้ว" อาชาย ตั้งความหวัง

             และการที่ "ชาย เมืองสิงห์" กลายเป็นนักร้องที่มีแฟนเพลงติดตามผลงานนับพันเพลงมานานกว่าครึ่งศตวรรษ และยังยืนยงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ได้นั้น เขาบอกว่า คนที่มีพระคุณที่สุดจะเป็นใครไปไม่ได้ นั่นก็คือ "แฟนเพลง" นั่นเอง

             "แฟนเพลงเป็นผู้มีพระคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ ต้องไม่ทำให้แฟนเพลงผิดหวัง เสียงปรบมือของแฟนเพลงคือพลังที่ทำให้ใจเราฮึกเหิม มีกำลังใจขึ้นมา ก็จะร้องเพลงต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ จนกว่าจะร้องเพลงไม่ไหวอีกแล้ว..." ลูกทุ่งหัวใจสิงห์ ทิ้งท้าย

             คงจะไม่ผิดนักหากจะใช้คำว่า "ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่" กับนักร้องลูกทุ่งผู้โด่งดังในอดีตคนนี้ เพราะตลอดชีวิตของการเป็นศิลปิน "ชาย เมืองสิงห์" ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า เขาเคารพ ให้เกียรติกับอาชีพนี้ ตลอดจนแฟนเพลงทุกคน ไม่ว่าวันนั้นจะเป็นวันที่เขามีชื่อเสียงสูงสุดในชีวิต หรือเป็นวันที่ชื่อเสียงเริ่มจะลดน้อยลงไปตามกาลเวลา ซึ่งมาพร้อมกับอาการเจ็บป่วยที่รุมเร้า แต่ไม่ว่าจะเป็นวันไหน "ชาย เมืองสิงห์" ก็ยังกล้าเผชิญหน้ากับอุปสรรคด้วยความเข้มแข็ง และพิสูจน์ให้เห็นว่า "ชาย เมืองสิงห์" เป็นนักสู้หัวใจสิงห์สมชื่อหลังสิ้นยุคของฉัตรทอง มงคลทอง (คนรุ่นใหม่อาจจะคุ้นชื่อจากหนัง ฟอร์มาลีนแมน) มีการพยายามปั้นนักร้องใต้ขึ้นมาแทนที่ แต่เหมือนจะไม่มีใครขึ้นมาแทนได้เลยสักคน นับจากนั้นเพลงลุกทุ่งใต้ที่ดังพอๆ กับลูกทุ่งฉบับภาคกลางค่อยๆ ลดบทบาทลงไป จนระยะหลังมีลูกทุ่งอีสานเข้ามาแทนที่ และเกร่อล้นแผงเทปในปัจจุบัน
เอกชัย ศรีวิชัย
ในบรรดานักร้องลูกทุ่งใต้ที่นับตัวได้ (ไม่นับพวกเพื่อชีวิตแบบกลอนพาไป) เห็นจะมีก็แต่เอกชัย ศรีวิชัย ที่อาจนับได้ว่าเทียบได้หรือเหนือกว่า หลายคนอาจไม่ค่อยชอบเพราะเพลงส่วนหนึ่งค่อนข้างทะลึ่ง อันนี้แล้วแต่จริตแต่ละคนเถอะครับ แต่นั่นคือวิถีของคนบ้านๆ เป็นศิลปินใต้เพียงคนเดียวที่เข้าถึงและถ่ายทอดศิลปะ ขนบ และธรรมเนียมใต้ได้อย่างลึกซึ้งคมคายชนิดหาตัวจับยาก ..คนรุ่นหลังอาจไม่เข้าใจซึ่งก็เข้าใจได้ ผมเองก็เคยถูกปรามาสจากแม่มาก่อนว่า ชอบดูหนังตะลุงก็จริงแต่ “ดูหนังไม่เป็น” จนโตขึ้นอีกหน่อยนั่นแหละถึงเข้าใจว่าแม่หมายถึงอะไร แต่อย่ารู้เลยครับ

ขึ้นชื่อว่าเอกชัย ไปเล่นที่ไหนคนเต็ม เพราะเป็นที่ คุ้มเกินคุ้มกับเงินที่จ่ายไป เล่นเต็มเวลา ตรงเวลาและอัดแน่นด้วยศิลปะใต้ไม่ใช่แค่การร้องเพลงแบบคอนเสิร์ตทั่วไป บรรดาแม่ยกของ “ลูกเอก” มีไม่น้อยเลยครับ แม่เล่าให้ฟังว่าแม่ค้าตลาดนัดแถวเขาพนม (กระบี่) ถ้ารู้ว่าลูกเอกแสดงที่ไหน ถึงไหนก็ถึงกันลงทุนเหมารถเมล์ไปดูกันเลยก็ว่าได้ รุ่งเช้ามาหลับเอาในตลาดนัด รักหลงกันขนาดว่าใครก็ตำหนิลูกเอกไม่ได้เชียวครับ
ผมเพิ่งไปเจอมาอีกเพลง “เมียอิทธิพล” ในชุด “ยอมให้เด็กหลอก” ฟังชื่อเพลงแล้วนึกไม่ออกว่าจะหมายถึงอะไร ฟังไปรอบแรกก็ยังนึกไม่ออก ต้องฟังรอบสอง ลองฟังดูนะครับ
อย่างที่ผมเคยพูดถึงหลายครั้งว่าศิลปะการแสดงภาคใต้ จะพูดถึง วิพากษ์หรือหยิบจับมาเสียดสีในทำนองขบขันในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับบริบท และความเคลื่อนไหวของสังคม จุดนี้แตกต่างค่อนข้างเด่นชัดจากศิลปะพื้นบ้านของภูมิภาคอื่น ในเพลง “เมียอิทธิพล” พูดถึงนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลในสมัยรัฐบาลหน้าเหลี่ยม (ซึ่งเอาไว้บังหน้าเล่นงานหัวคะแนนฝ่ายตรงข้าม) คำว่าผู้มีอิทธิพล หมายถึง “คนใหญ่คนโต” เอกชัยหยิบมาเย้าในทำนองขบขันว่า เพราะนโยบายนี้ทำให้ต้องเลิกกับเมีย เพราะ “เมียเคยใหญ่” ฟังซ้ำนะครับ “เมียเคยใหญ่” แล้วสุดท้ายก็สบายใจเพราะเมียคนใหม่ ไม่ “เคยใหญ่ เคยโต”
คนใต้อ่านถึงบรรทัดนี้อาจแอบยิ้ม ส่วนคนภาคอื่นไม่เข้าใจใช่มั๊ยครับ คำว่า “เคย” ในภาษาใต้ นอกจากเป็นคำวิเศษแบบภาษกลางแล้ว ยังเป็นคำนาม มีสองความหมาย ความหมายหนึ่งหมายถึง “กะปิ” อีกความหมาย..ตรงนั้นๆ ของผู้หญิง 

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รวมเพลงไทยลูกทุ่ง

 เป็นอีกเพลงที่ฟังแล้วมีความสุขมีความหมายดี
  เพลงที่หาฟังยากตามร้านขาย>>ซีดีทั่วไป  เป็นเพลงดังในอดีตแต่ปัจจุบันก็ยังนิยม            เป็นเพลงที่ดังมากตอนน้ำท่วม แต่น้ำไม่ท่วมก็ยังดังอยู่

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฟังเพลงแล้วสบายใจ

                         เป็นเพลงที่มีความหมายดีๆ ฟังแล้วซึ้งค่ะ ความรักที่ไม่มีสิ้นสุด

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เพลง ขออยู่ด้วยคน

เพลงเพราะๆ ไม่ค่อยมีคนเปิดครับ เป็นเพลงเก่าหาฟังค่อนข้างยากของ ... สร้างขึ้นเพื่ออนุรักษ์ เพลงลูกทุ่งไทยไม่ให้เลือนไปจากความทรงจำของคนไทยคะ

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เพลงไทยสากล

เพลงไทยสากล หมายถึง
 เป็นเพลงที่ขับร้องในภาษาไทย โดยเริ่มจากนำทำนองไทยเดิมใส่เนื้อร้องบรรเลงและขับร้อง โดยใช้มาตรฐานของโน้ตเพลงแบบสากล จนเป็นเพลงไทยแนวใหม่ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 มีละครเวที ละครวิทยุ และภาพยนตร์ไทย มีบทบาทสำคัญทำให้เพลงไทยสากลได้รับความนิยม จนในปัจจุบันแตกสาขาไปอีกหลากหลายแนวเพลง

ประวัติ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกหัดทหารตามแบบยุโรป ซึ่งมีการใช้ดนตรีบรรเลงประกอบการฝึกทหาร โดยใช้ดนตรีประเภทแตรวง จากบันทึกของ เทาเซนต์ แฮรีส ทูตชาวอเมริกันที่เข้ามาเมืองไทย กล่าวว่า “วงดนตรีของเขาแปลกใหม่ที่ดึงดูดความสนใจของคนไทยที่พบเห็นเป็นอันมา” และ คนไทยเริ่มคุ้นกับแตรวงหรือแตรฝรั่งตั้งแต่นั้น จนในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 Jacob Feit (ผู้เป็นบิดาของ พระเจนดุริยางค์) ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน เข้ามารับราชการเป็นครูแตรวงในพระราชสำนักของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) ปรับปรุงแตรวงทหารในปี พ.ศ. 2420 วงแตรวงทหารในเวลาต่อมาได้รับการเรียกชื่อใหม่ว่า “วงโยธวาทิต” (Military Band) [1] ในราชสำนักไทยมีการเล่นดนตรีสำหรับบรรเลงทั้งดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นผู้นำการแต่งทำนองเพลงตามมาตรฐานดนตรีสากลและในการประพันธ์เพลงสำหรับบรรเลงด้วยแตรวงโดยเฉพาะเพลงวอลซ์ปลื้มจิต ในปี พ.ศ. 2446 สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรกในประวัติศาสตร์ดนตรีของเมืองไทย[2] เพลงต่าง ๆ เหล่านี้ทรงนิพนธ์โดยใช้โน้ตและจังหวะแบบสากล และจากพระปรีชาสามารถในการทรงประพันธ์เพลง จึงทรงได้รับการยกย่องเป็น “พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล” [3]
ละครร้องได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2451 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ซึ่งทรงดัดแปลงมาจากละครมาเลย์ที่เรียกกันว่า “มาเลย์โอเปร่า” หรือ “บังสาวัน” และทรงตั้งชื่อละครคณะใหม่นี้ว่า “ปรีดาลัย” ลักษณะของเพลงมีเนื้อร้องมากเอื้อนน้อยและให้ลูกคู่เป็นผู้เอื้อนแทนนักแสดง ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงนั้น จนในปี พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสร้างวงดนตรีในราชสำนักเรียกว่า “วงเครื่องสายฝรั่งหลวง” และโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนดนตรีทุกประเภทที่ชื่อ โรงเรียนพรานหลวง ที่สวนมิสกวัน นอกจากนั้นทรงสร้าง “กาแฟนรสิงห์” บริเวณมุมถนนศรีอยุธยาลานพระราชวังดุสิต ให้ประชาชนพักผ่อน มีสถานที่ขายอาหาร และยังจัดบรรเลงดนตรี วงดุริยางค์สากลและวงปี่พาทย์ให้ประชาชนฟัง ทุก ๆ วันอาทิตย์เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 น.
จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ดนตรีตะวันตกเริ่มแพร่หลายเข้าสู่ประชาชนอย่างกว้างขวางตามลำดับ ทรงส่งเสริมไห้มีการฝึกดนตรีตะวันตกในหมู่ข้าราชการบริพารและนักดนตรีไทย ซึ่งมีนักดนตรีที่เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องอย่าง พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) และอีกบุคคลหนึ่งในวงเครื่องสายฝรั่งหลวง เป็นหัวหน้าวงกรมโฆษณาการนั่นคือ เอื้อ สุนทรสนาน[4]
เพลงไทยสากล อาจพูดได้ว่าที่มา เกิดจาก 2 สายคือ สายทางละครและสายทางภาพยนตร์ สายทางละครนั้นละครคณะปรีดาลัยเป็นต้นกำเนิด มีลักษณะเป็นเพลงไทยที่ร้องตามทำนองฝรั่ง ส่วนทางสายภาพยนตร์ สันนิษฐานว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่นำเข้ามาฉายในเมืองไทยราวปี พ.ศ. 2471 ในช่วงแรกเป็นภาพยนตร์เงียบ จึงมีการริเริ่มทำเพลงประกอบเพื่อเพิ่มอรรถรสสำหรับผู้ชม โดยใช้แตรวงบรรเลงก่อนการฉายและขณะทำการฉายหนัง เพลงที่บรรเลงเป็นเพลงสากลกับเพลงไทยเช่น เพลงแบล็คอีเกิ้ล และเพลงของทูลกระหม่อมบริพัตรคือเพลงมาร์ชบริพัตรและวอลซ์ปลื้มจิต
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ภาพยนตร์ตะวันตก ทำให้คณะละครที่มีชื่อเสียงต้องหยุดลงไป มีละครสลับรำ (คือมีร้องเพลงประกอบบ้าง) ได้รับความนิยมแทน แต่ละครเพลงเหล่านี้ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าภาพยนตร์ตะวันตก ความนิยมในละครประเภทนี้ก็ลดลงตามลำดับ[5] จนในปี พ.ศ. 2470 จวงจันทร์ จันทร์คณา (พรานบูรณ์) ผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงของคณะละครศิลป์สำเริง (คณะละครของแม่เลื่อน) ประวัติ โคจริก (แม่แก้ว) ผู้ประพันธ์เรื่องและเพลงของคณะละครนครบันเทิง (คณะละครของแม่บุญนาค) และสมประสงค์รัตนทัศนีย์ (เพชรรัตน์) แห่งคณะละครปราโมทย์นคร (คณะละครของแม่เสงี่ยม) ได้พัฒนาเพลงประกอบละคร “โดยการดัดแปลงจากเพลงไทยเดิมที่มีทำนองสองชั้นมาใส่เนื้อร้องแทนทำนองเอื้อนใช้ดนตรีคลอฟังทันหูทันใจ เป็นที่นิยมของประชาชนซึ่งเรียกกันว่าเพลงเนื้อเต็มหรือเนื้อเฉพาะแต่ยังคงใช้ปี่พาทย์บรรเลงเหมือนเช่นเดิมอยู่”[6]
เพลงไทยสากล ในสมัยของพรานบูรณ์ (2470-2472) มีลักษณะเป็น “เพลงไทยเดิมสากล” ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงไทยเดิม พรานบูรณ์ได้แต่งเพลงลักษณะนี้อีกเป็นจำนวนมาก และในปี พ.ศ. 2474 พรานบูรณ์และเพชรรัตน์แห่งละครคณะศรีโอภาสได้นำดนตรีสากลประเภทเพลงแจ๊ส (Jazz Band) หรือ รหัสดนตรี เป็นส่วนประกอบละครเรื่อง “โรสิตา” และนำทำนองเพลง “วอลซ์ปลื้มจิต” มาใส่เนื้อร้อง ได้รับความนิยมอย่างมาก มีการเผยแพร่บทเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ 7 พี.เจ. ที่ศาลาแดง และมีการบันทึกแผ่นเสียง โดยห้างนายต.เง็กชวน[7] และในปีเดียวกันพรานบูรณ์ร่วมงานกับคณะละครจันทโรภาสก็โด่งดังที่สุดขั้นด้วยละครร้องเรื่อง”จันทร์เจ้าขา” ซึ่งมีสถิติการนำออกแสดงถึง 49 ครั้ง ติดต่อกันแทบทุกโรงมหรสพที่มีในพระนครและธนบุรี โดยพรานบูรณ์แต่งเพลงไทยสากล มีลีลาทำนองอ่อนหวานอาทิ เพลงจันทร์เจ้าขา จันทร์สวาท จันทร์ลอย จันทร์จาฟ้าจันทร์แฝงหมอก ขวัญของเรียม ในช่วงนั้นบทเพลงประกอบละครร้องเป็นที่นิยมแพร่หลายโดยทั่วไปตราบจนกระทั่งความนิยมละครร้องลดน้อยลงไป ในขณะที่ภาพยนตร์พูดเสียงในฟิล์ม เข้ามาได้รับความนิยมแทน ซึ่งทีบทขับร้องประกอบด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ความนิยมในภาพยนตร์ตะวันตกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ มีการสร้างศาลาเฉลิมกรุงในปี พ.ศ. 2474 สกุลวสุวัต ซึ่งมี มานิต วสุวัต หลวงกลการเจนจิต (เภา วสุวัต) กระเศียร วสุวัต และการะแส วสุวัต แห่งศรีกรุงภาพยนตร์ทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มหรือภาพยนตร์พูดได้เป็นครั้งแรกชื่อเรื่องว่า “หลงทาง” ดนตรีประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ดนตรีสากลบรรเลงเพลงไทยแท้ มีเนื้อร้อง ทำนองที่มีเอื้อนเพียงเล็กน้อย ซึ่งได้แก่เพลงพัดชา บัวบังใบ ฯลฯ เป็นต้น และในปี พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์เรื่อง “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” โดยมี ขุนวิจิตรมาตรา กำกับการแสดงและเรือโทมานิต เสณะวีนิน ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อว่า “เพลงกล้วยไม้” ซึ่งนับเป็นเพลงไทยสากลเพลงแรก ในการแต่งทำนองตามหลักโน้ตสากลในประวัติศาสตร์เพลงของเมืองไทย ขับร้องโดย องุ่น เครือพันธ์ และมณี บุญจนานนท์ ขับร้องหน้าเวทีสลับการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้[8] ที่เรียกว่าเพลงไทยสากล น่าจะเพราะ เป็นเพลงไทยที่มีเนื้อร้องภาษาไทยแต่มีท่วงทำนองลีลาและจังหวะเป็นแบบสากล
ในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงกลาโหมสร้างภาพยนตร์ “เลือดทหารไทย” มีเพลงประกอบ 3 เพลงคือ “มาร์ชไตรรงค์” “ความรักในแม่น้ำเจ้าพระยา” และ “มาร์ชเลือดทหารไทย” ประพันธ์โดยเรือโทมานิต เสนะวีณิน และยังมีภาพยนตร์อีกหลายเรื่องที่ประพันธ์โดย เรือโทมานิต และขุนวิจิตรมาตรา เช่น ตะวันยอแสง จากเรื่อง“เลือดชาวนา” เพลงบวงสรวงจากเรื่อง “เมืองแม่หม้าย” ฯลฯ และหลังจากที่เรือโทมานิต เสนะวีณิน ถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ. 2479 ได้เกิดนักแต่งเพลงคนใหม่คือนารถ ถาวรบุตร มีเพลงเพลงที่เป็นที่นิยมมากมาย เช่น พลับพลึงไพร ชื่นชีวิต แสนอาลัย ใจสนองใจ เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2478 ทางราชการได้แต่งเพลงขึ้นอีก 2 เพลงคือเพลงชาติและเพลงเถลิงรัฐธรรมนูญ และยังมีเพลงที่สำคัญ เช่น เพลงรักเมืองไทย เพลงเลือดสุพรรณ ศึกถลาง เพลงแหลมทอง เป็นต้น ส่วนเพลงเพื่อกองทัพนั้นได้รับความนิยมสูงมากจนถึงกับนำไปเป็นเพลงสัญลักษณ์ก่อนการฉายภาพยนตร์ และเมื่อสงครามระหว่างไทยกับอินโดจีนเกิดขึ้นเพลงปลุกใจก็ยิ่งมากขึ้น เช่นเพลงแนวรบแนวหลัง เพลงทหารไทยแนวหน้า เพลงมณฑลบูรพา เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้าง เรื่อง “เพลงหวานใจ” โดยมีขุนวิจิตรมาตราเป็นผู้แต่งบทภาพยนตร์ คำร้องเพลงประกอบภาพยนตร์และกำกับการแสดง นารถ ถาวรบุตร เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และในปีเดียวกัน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็นหัวหน้าวงดนตรีมีนักดนตรีที่สำคัญในวงเช่น เอื้อ สุนทรสนาน เวส สุนทรจามร สังเวียน แก้วทิพย์ จำปา เล้มสำราญ คีติ คีตากร (บิลลี่) ฯลฯ มีเพลงที่ได้รับความนิยมอย่าง “ลมหวล” และ “เพลิน” จากภาพยนตร์เรื่อง “แม่สื่อสาว”
ในปี พ.ศ. 2482 มีการจัดตั้งกรมโฆษณาการโดยมีวิลาศ โอสถานนท์ เป็นอธิบดีคนแรก และมีการตั้งวงดนตรีของกรมโฆษณาการเพื่อบรรเลงเพลงส่งไปกระจายตามสถานีวิทยุและตามสถานที่ต่าง ๆ โดยมี เอื้อ สุนทรสนาน เป็นหัวหน้าวง เวท สุนทรจามร เป็นผู้ช่วย นักร้องรุ่นแรก ๆ ที่สำคัญ เช่น จุรี โมรากุล (มัณฑนา โมรากุล) ล้วน ควันธรรม รุจี อุทัยกร สุภาพ รัศมีทัต ชวลี ช่วงวิทย์ เป็นต้น โดยมีนักแต่งเพลงประจำวงที่สำคัญ คือเอื้อ สุนทรสนาน เวท สุนทรจามร ล้วน ควันธรรม และแก้ว อัจฉริยะกุล ร่วมกันแต่งเพลงออกมาจำนวนหนึ่งด้วยในปี พ.ศ. 2482 เช่นกัน และต่อมาได้ตั้งวงดนตรี “สุนทราภรณ์” ขึ้น ลักษณะของวงดนตรีสุนทราภรณ์เป็นแบบตะวันตกโดยใช้เครื่องเป่าเป็นหลัก เช่น ทรัมเปต คาริเนต และมีเครื่องสายผสม เช่น ไวโอลิน เป็นวงแบบ Big Band กำเนิดวงดนตรี สุนทราภรณ์นี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงไทยสากลในยุคปัจจุบัน[9]
จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ขาดแคลนฟิล์มและสิ่งบันเทิง แต่ละครเวทีเป็นที่นิยมขึ้น ละครเกิดขึ้นอย่างมากมายที่สำคัญ เช่น คณะอัศวิน ของพระเจ้าภาณุพันธ์ยุคล คณะนาฎยากร ของ สด กูรมะโรหิต คณะศิวรมณ์ ของขุนสวัสดิ์ทิฆัมพร คณะวิจิตร เกษม ของบัณฑูรย์ องค์วิศิษย์ เป็นต้น ซึ่งคณะละครได้แต่งเพลงไทยสากล เพื่อใช้ประกอบการแสดงละครและเพลงร้องสลับการแสดงขณะเปลี่ยนฉากไว้เป็นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2507 เพลงไทยสากลได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เพลงลูกกรุง และเพลงไทยลูกทุ่ง และในระยะเวลาไล่เลี่ยกันกระแสเพลงร็อกแอนด์โรลของทางฝั่งตะวันตกอย่างวง เดอะ บีทเทิลส์ ได้รับความนิยมอย่างมาก ในส่วนของประเทศไทยได้มีการประกวดเพลงไทยสากลแนวใหม่ชิงถ้วยพระราชทานนั่นคือ เพลงสตริงคอมโบ (ใช้เครื่องเป่าผสมกีตาร์เป็นหลัก) วงชนะเลิศคือวง ดิอิมพอสซิเบิ้ล ซึ่งเป็นวงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
ต่อมาในยุคที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตทางการเมือง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพลงไทยมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง สังคม และคนยากไร้ ใช้ดนตรีเรียบง่ายอย่างกีตาร์โปร่ง ที่รู้จักกันว่า "เพลงเพื่อชีวิต" มีวงที่มีชื่อเสียงอย่างวงคาราวาน ภายหลังปี 2521 เพลงแบบสตริงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เกิดวงดนตรีใหม่ ๆ ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เช่น แกรนด์เอกซ์ คีรีบูน บรั่นดี อัสนี-วสันต์ และ ฯลฯ และเพลงสตริงก็ยังเป็นที่นิยมในตลาดจนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีแนวเพลงเพิ่มขึ้นหลากหลายมากขึ้น กลุ่มผู้ฟังได้แยกแตกกระจายเป็นกลุ่มๆ ตามความชอบของผู้ฟัง โดยในแต่ละกลุ่มก็มีการมอบรางวัลให้นักร้อง นักแต่งเพลง สำหรับแนวเพลงที่เกิดมาในยุคหลังก็เช่น แร็ป ฮิปฮอป เป็นต้น



ที่มา : วิกีพีเดีย

เพลงไทยเดิม

มุมพักผ่อนฟังเพลงเบาๆ > 22.ฟังเพลงไทยเดิม และดนตรีไทย บรรเลง เพราะๆ กัน หาฟังยากมากคะ
โดยทั่วไปวงดนตรีไทยที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วทุกภาคของประเทศ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทได้แก่
1. วงปี่พาทย์
2. วงเครื่องสาย
3. วงมโหรี

วงปี่พาทย์ เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องประเภท "เครื่องตี" เป็นเครื่องดนตรีสำคัญหรือเป็นตัวเอก ได้แก่ ระนาด กับ ฆ้องวง และมีเครื่องเป่าคือ ปี่ เป็นตัวสำคัญรองลงมา นอกจากนั้นมีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ เช่น กลอง,ฉิ่ง,ฉาบ
วงเครื่องสาย เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องประเภท "เครื่องสาย" เป็นหลักอันได้แก่ ซอด้วง กับซออู้ และมีเครื่องเป่า คือ "ขลุ่ย" สำคัญรองลงมา นอกจากนั้นมีเครื่องประกอบจังหวะคือ ฉิ่ง,ฉาบ,กลอง เครื่องดนตรีที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในวงเครื่องสายคือ "จะเข้"
วงมโหรี เป็นวงดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีจากวง"ปี่พาทย์" กับวง "เครื่องสาย" มาผสมกัน ดังนั้น วงมโหรีจึงประกอบด้วยเครื่องดนตรี คือ ระนาด,ฆ้องวง,ซอสามสาย,ซอด้วง,ซออู้,ปี่,ขลุ่ย,จะเข้, และเครื่องประกอบจังหวะทั้งหลายเท่าที่เห็นสมควร 

มีคนเป็นจำนวนมากเข้าใจว่าเพลงไทยนั้นมีท่วงทำนองเชื่องช้าน่าเบื่อหน่าย กว่าจะร้องออกมาได้แต่ละพยางค์ หรือแต่ละคำก็ต้องส่งเสียงเอื้อนเสียยาวนานฟังแล้วชวนให้ง่วงนอน สาเหตุที่ทำให้มีคนรู้สึกเช่นนั้นอาจจะเป็นเพราะ ไปฟังเพลงไทยประเภททำนอง 3 ชั้น ซึ่งดำเนินจังหวะช้าจึงทำให้รู้สึกว่ามันยืดยาด ความจริงแล้วเพลงไทยที่มีท่วงทำนองคึกคักสนุกสนานไพเราะน่าฟังยังมีอีกเป็น จำนวนมาก จัดอยู่ในประเภทเพลงที่เรียกว่า “เพลงเกร็ด” ส่วนใหญ่นิยมบรรเลงขับร้องกันในการแสดงละคร ซึ่งคนสมัยนี้อาจจะไม่ค่อยมีโอกาสได้ชมหรือได้ฟังกันบ่อยนัก จึงไม่ทราบว่ายังมีเพลงไทยที่มีท่วงทำนองรวดเร็วสนุกสนานน่าฟังประเภทนี้ อยู่ ตัวอย่างของเพลงไทยประเภทนี้ในปัจจุบันมีอยู่เพลงหนึ่ง ซึ่งดูจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป หากได้ยินทำนองเพลงนี้แล้วทุกคนจะรู้สึกคุ้นหูและรู้จักกันดี เนื่องจากเป็นเพลงที่นักดนตรีไทยและนักดนตรีสากลนิยมนำมาบรรเลงให้ได้ยินกัน บ่อยๆ ตามสื่อต่างๆเช่น วิทยุ โทรทัศน์ เทป ซีดีเพลง ฯลฯ รู้จักกันในชื่อ “เพลงค้างคาวกินกล้วย”

เพลงไทยเดิม

หมายถึง เพลงที่มีการขับร้องด้วยวิธีการแบบไทย เช่น การเอื้อน ลงทรวง เป็นต้น พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรีไทยไปด้วยในขณะที่กำลังขับร้องหรือบรรเลงเฉพาะดนตรีไม่มีการขับร้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ปรากฏในปัจจุบัน แม้ว่าจะมีการสันนิษฐานถึงที่มาของเครื่องดนตรีไทยในบางเครื่องว่ากำเนิดมาจากต่างชาติ แต่บรรพบุรุษไทยก็ได้เปลี่ยนแปลงและประยุกต์ให้เข้ากับเพลงไทยเดิม

ลักษณะ

คีตกวีหรือนักแต่งเพลงไทยเดิม จะแต่งทำนองขึ้นก่อนแล้วจึงตั้งชื่อเพลงนั้น สำหรับเนื้อร้องบางครั้งจะเอาเนื้อร้องจากคำประพันธ์ที่ไพเราะในวรรณคดีต่างๆ เช่นจากพระอภัยมณี พระลอ ขุนช้างขุนแผน ฯลฯ มาใส่ การแต่งเพลงขึ้นตอนแรกจะมีจังหวะปานกลาง แต่บางครั้งก็เอาทำนองนั้นไปขยายให้ยาวขึ้นและยุบทำนองให้สั้นลง แล้วนำมาบรรเลงติดต่อกันโดยเริ่มทำนองขยายก่อนด้วยจังหวะช้าเรียกว่าจังหวะ 3 ชั้น ต่อด้วยทำนองเดิมจังหวะปานกลางเรียกว่า 2 ชั้น และต่อด้วยทำนองที่ยุบให้สั้นลงด้วยจังหวะเร็วเรียกว่า ชั้นเดียว ซึ่งเรียกว่า เพลงเถา ถ้านำไปบรรเลงเพียงจังหวะเดียวเรียกเพลงเกร็ด และนำเพลงเกร็ดหลายๆ เพลงที่มีอัตราจังหวะเดียวกันมาบรรเลงติดต่อกันเรียกว่า เพลงตับ
การเอื้อน มาจากการที่เพลงไทยอาศัยเนื้อร้องจากคำประพันธ์อื่นมาสวมใส่ทำนองที่แต่งไว้แล้ว ทำนองและเนื้อร้องจึงไม่พอดีกัน โดยใช้เสียง “เออ” หรือ “เอย” และลักษณะนี้เองทำให้เพลงไทยไม่เหมือนเพลงของชาติอื่นๆ ในโลก เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงไทย
เพิ่มคำอธิบายภาพลาวดวงเดือน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยเดิมเพลงหนึ่งที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวไทย ทรงพระนิพนธ์โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโร ดม (พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2425


เดิมเพลงนี้กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมทรงตั้งชื่อว่า เพลงลาวดำเนิน เกวียน แต่เนื่องจากเนื้อร้องมีคำว่า ดวงเดือน อยู่หลายตอน ทำให้ผู้ฟังเรียกผิดเป็น ลาวดวงเดือน


ประวัติ


ประวัติของเพลงลาวดวงเดือน มีอยู่ว่า เมื่อกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมได้เสด็จไปนครเชียงใหม่ และเกิดชอบพอกับเจ้าหญิงชมชื่น พระธิดาองค์โตของเจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น ณ ลำพูน ทรงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเถ้าแก่เจรจาสู่ขอ แต่ได้รับการทัดทาน ไม่มีโอกาสที่จะได้สมรสกัน ทำให้พระองค์โศกเศร้ามาก และได้ทรงพระนิพนธ์เพลงนี้ขึ้น เมื่อใดที่ทรงระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่น ก็จะทรงดนตรีเพลงลาวดำเนินเกวียน (ลาวดวงเดือน) เพลงนี้ หรือให้มหาดเล็กเล่นให้ฟัง มาตลอดพระชนมชีพ


เนื้อ ร้อง


โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง

โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ

โอ้ละหนอนวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ

โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกพี่อาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรมเริศร้างเวหา เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า(ละหนอ)เห็นมืดมน
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขานเสียงหวานเจื้อยแจ้ว หวานสุดแล้วหวานแจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)
ถึงจะหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย บ่แม้นทรามเชยเราละเหนอ (ซ้ำ)



โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาแล้ว อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย

หอมกลิ่นเกสรเกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ

โอ้ละหนอนวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกพี่อาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรมเริศร้างเวหา เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า(ละหนอ)เห็นมืดมน
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย

เสียงไก่ขันขานเสียงหวานเจื้อยแจ้ว หวานสุดแล้วหวานแจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)
ถึงจะหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย บ่แม้นทรามเชยเราละเหนอ (ซ้ำ)




โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาแล้ว อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย

หอมกลิ่นเกสรเกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ

โอ้ละหนอนวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกพี่อาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรมเริศร้างเวหา เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า(ละหนอ)เห็นมืดมน
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย

เสียงไก่ขันขานเสียงหวานเจื้อยแจ้ว หวานสุดแล้วหวานแจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)
ถึงจะหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย บ่แม้นทรามเชยเราละเหนอ (ซ้ำ)




โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาแล้ว อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย

หอมกลิ่นเกสรเกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ

โอ้ละหนอนวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกพี่อาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรมเริศร้างเวหา เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า(ละหนอ)เห็นมืดมน
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย

เสียงไก่ขันขานเสียงหวานเจื้อยแจ้ว หวานสุดแล้วหวานแจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)
ถึงจะหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย บ่แม้นทรามเชยเราละเหนอ (ซ้ำ)